6 อันดับ เตียงผู้ป่วย ยี่ห้อไหนดี อัพเดทล่าสุดปี 2567

อัพเดท รายละเอียดแบรนด์ โปรโมชั่น ส่วนลด ในร้านค้าออนไลน์ ได้ก่อนใคร กับร้านค้าแนะนำของเราเท่านั้น หากไม่อยากพลาดโปรดีๆ รีบเลย ช้อปก่อนใคร คอลเลคชั่นใหม่ทุกแบรนด์ พร้อมโปรสุดปัง ให้คุณช้อปสุดฟิน
สินค้ามาใหม่ ราคาที่ไม่แพง เราอยากนำเสนอ เตียงผู้ป่วย  สินค้ากับร้านที่เราแนะนำ  ราคาถูกที่สุดเท่าที่เคยได้ยินมา สั่ง เตียงผู้ป่วย  ไป ราคาถูกกว่าซื้อห้าง สินค้าใส่ซองกันกระแทกมาตอนจัดส่งให้ด้วย ส่งเร็วทันใจ คุณภาพเยี่ยมพอดีเห็น ราคาจะลดลงอีกลองเข้าไปดูที่ร้านได้ เลยจัดไป ได้รับสินค้าเรียบร้อย ส่งไว คุณภาพเยี่ยม ได้ลองแล้วนับว่าดีเลยทีเดียว ไม่มีความเสียหายไดๆจากการขนส่ง

     คุณรู้หรือไม่? ว่าปัจจุบันนี้"เตียงผู้ป่วย"นั้นโดยมีทั้ง เตียงผู้ป่วย แล้วแบบนี้คุณจะทราบได้อย่างไรว่าในแต่ละรุ่นหรือประเภทนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร? หรือเตียงผู้ป่วย ยี่ห้อไหนดี? ราคาแพงไหม? ดังนั้นหากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมองหาเตียงผู้ป่วยดีๆสักรุ่น วันนี้เราได้จัดอันดับ แนะนำ เตียงผู้ป่วยคุณภาพดีมาให้คุณได้เลือกกันแล้วดังนี้

"เตียงผู้ป่วย" เป็นอีกหนึ่งในอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้สามารถนำไปใช้เพื่อพักฟื้นหรือดูแลผู้ป่วยที่บ้านได้ แต่เมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นเตียงด้านการพยาบาลก็ต้องมีความแตกต่างจากเตียงนอนทั่วไปอย่างแน่นอน และยิ่งไปกว่านั้นหลายครั้งที่ผู้ซื้อกำลังมองหาเตียงผู้ป่วยดี ๆ สักหนึ่งเตียง ก็กลับมีรูปแบบและชื่อเรียกแยกย่อยออกไปให้เลือกมากมาย จนทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้ซื้อไปใช้งานไม่น้อย


และเพื่อให้การลงทุนซื้อเตียงผู้ป่วยของทุกท่าน มีความคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากที่สุด ในครั้งนี้ ทางทีมงานของเราจึงได้นำเอาข้อมูลสำคัญ ซึ่งจะมาช่วยแยกความพิเศษรวมถึงจุดสังเกตที่น่าสนใจ โดยมาในรูปแบบของวิธีการเลือกเตียงผู้ป่วย พร้อมกับ 10 อันดับความนิยมของเตียงป่วยที่มีคุณภาพจากแบรนด์ดังทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น Burmeier, Stiegelmeyer, Thaibull ฯลฯ และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปดูเทคนิคการเลือกซื้อที่น่าสนใจกันได้เลยค่ะ !

เนื่องจากเตียงผู้ป่วยนั้นถือเป็นอุปกรณ์ควบคุมทางการแพทย์ที่มีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น ในการเลือกซื้อทุกครั้ง ผู้ซื้อจึงจำเป็นจะต้องพิจารณารายละเอียดหรือความเหมาะสมต่าง ๆ อย่างรอบคอบ เพื่อให้เตียงที่ซื้อมาเกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้ป่วยเองและไม่เกิดค่าใช้จ่ายที่เกินความความจำเป็นแก่ผู้ซื้อด้วย

แม้ว่าเตียงผู้ป่วยจะมีทั้งระบบมือหมุนและระบบไฟฟ้า แต่ทั้ง 2 ระบบนี้ก็มีความแตกต่างกันแค่เรื่องความสะดวกในการออกแรงปรับระดับเท่านั้น เพราะแท้ที่จริงแล้ว ส่วนสำคัญที่ผู้ซื้อส่วนใหญ่นิยมใช้พิจารณาก็คือ ระบบหรือฟังก์ชันปรับเตียงรูปแบบต่าง ๆ ตามที่เราเรียกกันว่า "ไกร์เตียง" นั่นเอง ซึ่งแบ่งตามความเหมาะสมได้ดังนี้

ในกรณีแรกนี้เป็นเตียงทั่วไปที่สามารถปรับระดับความสูงบริเวณหัวเตียง พนักพิงหลังหรือไหล่ได้เพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น ไม่ปรับความสูงของเตียงไม่ได้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่สามารถลุกนั่ง หรือเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเอง โดยส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นระบบใช้มือหมุนเพลาเพื่อดันเบาะขึ้น ซึ่งเตียงแบบ 1 ไกร์ถือได้ว่าเป็นเตียงที่ใช้งานง่ายที่สุดและมีราคาถูกที่สุดอีกด้วย


และด้วยลักษณะเตียงที่ไม่ได้มีฟังก์ชันอะไรให้ปรับมากนัก ทำให้บางผู้ผลิตก็ได้มีการปรับปรุงรายละเอียดเล็กน้อย เช่น ในขณะที่ปรับหัวเตียงดันขึ้น ส่วนปลายเตียงก็จะมีการยกตัวขึ้นเล็กน้อยด้วย เพื่อช่วยรองรับผู้ป่วยไม่ให้ไหลมาที่ปลายเตียง เป็นต้น ทั้งนี้แม้ว่าระบบมือหมุนก็ยังจำเป็นที่จะต้องมีผู้ดูแลเข้ามาช่วยในการหมุนเพลาอยู่ แต่ถ้าหากใครที่ไม่มีผู้ดูแลประจำ ก็สามารถเพิ่มงบประมาณเปลี่ยนไปซื้อเป็นระบบไฟฟ้าแทน เพื่อให้เกิดความง่ายและความสะดวกมากขึ้นค่ะ

สำหรับประเภทเตียง 2 ไกร์ จะเป็นการพัฒนาขึ้นมาอีกขั้น เพื่อปรับให้ผู้ป่วยงอเข่าหรืออยู่ในท่าชันเข่าได้ ซึ่งเมื่อยกขึ้นก็จะมีลักษณะเป็นช่องสามเหลี่ยมตั้งขึ้นใต้เตียงช่วงหัวเข่าและส่วนใหญ่จะทำมุมใกล้เคียงกันที่ 30 - 45 องศา ในขณะเดียวกัน ด้านศีรษะก็ปรับขึ้นให้ตั้งขึ้นได้ 70 - 90 องศาไปได้พร้อม ๆ กัน แต่ไม่สามารถปรับระดับความสูงเตียงได้


โดยการปรับระดับของเตียง 2 ไกร์นั้น ถือว่าเป็นการออกแบบที่คำนึงถึงหลักสรีรศาสตร์ได้เป็นอย่างดี เพราะการชันเข่าจะช่วยไม่ให้ผู้ป่วยไหลมาที่ปลายเตียง ที่สำคัญ จะช่วยลดอาการปวดหลังเมื่อผู้ป่วยต้องนั่งเป็นระยะเวลานานได้นั่นเอง

ลำดับถัดมา คือ เตียง 3 ไกร์ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถขึ้นลงด้วยตนเองหรือขยับตัวได้ค่อนข้างลำบากและผู้ป่วยอาจจะต้องเคลื่อนย้ายเพื่อไปพบแพทย์หรือทำกายภาพบำบัด ซึ่งเตียงประเภทนี้จะเป็นเตียงที่พัฒนามาจากระบบ 2 ไกร์ แต่เพิ่มฟังก์ชันการปรับความสูงของเตียงเข้าไป ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุและอาการบาดเจ็บขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้


อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของกลไกดังกล่าวก็ส่งผลให้ราคาของเตียงผู้ป่วย 3 ไกร์ เพิ่มขึ้นจากปกติเกือบเท่าตัว แต่หากผู้ป่วยมีความจำเป็นจะต้องเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนสถานที่บ่อย การเลือกเตียงประเภทนี้ก็ถือว่าตอบโจทย์และคุ้มค่าทีเดียว

หากเป็นผู้ป่วยที่จะต้องใช้เวลาพักฟิ้นอยู่บนเตียงเป็นระยะเวลานาน หรือผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ควรเลือกเตียงที่มีระบบการทำงานเสริมเพื่อใช้ช่วยเพิ่มความสะดวก โดยในที่นี้เราจะรู้จักกันในชื่อที่เรียกว่า เตียง 4 ไกร์ หรือ 5 ไกร์ ซึ่งเป็นเตียงมีลักษณะทั่วไปใกล้เคียงกับ 1-3 ไกร์ แต่จะมีความสามารถในการปรับหลัง, ปรับช่วงไหล่, ปรับซ้าย-ขวา, ปรับท่าขันเข่า หรือความสูง-ต่ำของหัวเตียงและส่วนเท้าได้


โดยส่วนใหญ่แล้ว เตียงที่เป็นระบบ 4 และ 5 ไกร์ จะถูกออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยเป็นหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบ 5 ไกร์ จะเป็นระบบเดียวที่ปรับให้ด้านศีรษะต่ำ-เท้าสูงได้ ซึ่งความพิเศษเหล่านี้จะช่วยลดโอกาสการเกิดแผลกดทับได้ ช่วยให้การทำกายภาพเป็นไปอย่างราบรื่นและช่วยลดภาระของผู้ดูแลในการพลิกตัวผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมากหรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกได้นั่นเอง


ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ก็ได้มีการเปิดตัวเตียงผู้ป่วยที่ปรับพลิกตะแคงซ้าย ขวาให้เอียงได้มากขึ้นกว่า 40 องศา หรือแม้กระทั่งฟังก์ชันช่องสำหรับนอนสระผมได้ หรือช่องขับถ่ายในท่านั่ง ก็มีออกมาวางจำหน่ายให้ผู้ซื้อได้เลือกเพื่อใช้อำนวยสะดวก ตามความเหมาะสมกันอีกด้วย

ขนาดเตียงผู้ป่วยโดยทั่วไป จะมีขนาดตั้งแต่ กว้าง 85 - 100 cm และ 170 - 200 cm ซึ่งเป็นขนาดที่รองรับความสูงของผู้ป่วยทั่วไปได้และยิ่งความกว้างของเตียงมากขึ้นเท่าไหร่ ความปลอดภัยจากการพลิกตัวของผู้ป่วยก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกัน ก็เป็นระยะที่ทำให้ผู้ดูแลเข้าถึงตัวผู้ป่วยได้ลำบากมากขึ้นด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เรามองเห็นขนาดความกว้างที่เหมาะกับทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล มักจะอยู่ที่ 90 cm ซึ่งเป็นมาตรฐานส่วนใหญ่นั่นเอง


นอกจากนี้ เตียงผู้ป่วยควรมีความสูงจากพื้นถึงพื้นเตียง 25-40 cm หรือมีความสูงประมาณข้อพับเข่าของผู้ป่วย เพื่อให้ลุกขึ้นนั่ง-ยืนได้ และวางเท้าบนพื้นได้พอดี หรือหากเป็นเตียงไฟฟ้าที่สามารุปรับระดับได้ ก็ควรที่จะปรับดับให้สูง-ต่ำได้ 25 - 40 cm ด้วย

โดยปกติเตียงผู้ป่วยจะถูกออกแบบมาให้รองรับการใช้งานของตัวผู้ป่วยได้ดีและเน้นความปลอดภัยอยู่แล้ว เช่น วัสดุที่ใช้ต้องเป็นวัสดุที่มีมาตรฐาน, ทำจากเหล็กเคลือบสารกันสนิม, รองรับน้ำหนักผู้ป้วยได้ตั้งแต่ 150 kg ขึ้นไป เป็นต้น แต่ถึงอย่างนั้น ในหลายผู้ผลิตก็ได้มีการเพิ่มฟังก์ชันการใช้งาน มีอุปกรณ์เสริม รวมไปถึงเพิ่มระบบความปลอดภัยต่าง ๆ ให้เป็นทางเลือกในการพิจารณาเลือกซื้อด้วย


และหนึ่งในระบบความปลอดภัยที่สำคัญก็คือ ราวกันตก ที่จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุจากการพลิกตัว โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ซึ่งวัสดุที่เป็นที่นิยม คือ อะลูมิเนียม เหล็ก และพลาสติก ABS เพราะมีน้ำหนักเบา ทำให้การพับหรือยกขึ้นลงสะดวกขึ้น โดยราวกันตกที่เราขอแนะนำควรมีระดับความสูงที่วัดจากฟูกหรือเบาะนอนไม่น้อยกว่า 22 cm


นอกจากนี้ ยังมีระบบล็อกล้อป้องกันเตียงไหล ฟังก์ชันการสระผม และอื่น ๆ อีกมายมายให้ได้เลือกซื้อ อย่างไรก็ตาม การมีฟังก์ชันที่หลากหลายมากขึ้นนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาของเตียงผู้ป่วยสูงขึ้นตามไปด้วย

ใครที่ต้องการเพิ่มความสะดวกในการเคลื่อนย้าย ในกรณีที่ผู้ป่วยสามารถลุกเดินเองได้และไม่มีความจำเป็นจะต้องนอนเตียงตลอดเวลา แนะนำให้เลือกใช้เตียงผู้ป่วยที่พับได้ เพราะจะช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้งานหรือพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมอื่นได้ ทั้งยังช่วยให้คุณทำความสะอาดบริเวณห้องได้อย่างทั่วถึง


ลักษณะโดยทั่วไปจะเป็นการพับด้วยขั้นตอนง่าย ๆ คือ การยกรอยต่อตรงกลางเตียงขึ้นแล้ว ส่วนต่าง ๆ ก็จะพับเข้าหากันอัตโนมัติ หรือเป็นการถอดประกอบชิ้นส่วน ซึ่งความสะดวกที่ได้มานี้ย่อมแลกมาด้วยข้อเสีย เพราะโดยส่วนใหญ่ความแข็งแรงตามบริเวณรอยต่อหรือจุดเชื่อมเหล่านี้จะน้อยลงและมีโอกาสหักงอได้ง่ายหากรับน้ำหนักมากเกินไป


แต่ถ้าหากผู้ซื้อมีความสนใจที่จะเลือกซื้อเตียงที่สามารถพับได้อยู่แล้ว ก็อาจจะต้องเพิ่มงบประมาณในการเลือกซื้อฟูกหรือที่นอนที่มีความแข็งแรงมากขึ้น รวมถึงรุ่นที่มีระบบล็อกรอยต่อเพิ่มด้วย

เมื่อเราได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจกันไปส่วนหนึ่งแล้ว ลำดับต่อไปก็คือ 10 อันดับเตียงผู้ป่วยคุณภาพ ที่ไม่เพียงหาซื้อทางออนไลน์ได้เท่านั้น แต่ยังได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้ใช้อย่างล้นหลามอีกด้วย จะเป็นเตียงรูปแบบไหนและมีความพิเศษน่าสนใจขนาดไหนนั้น ไปเริ่มจากอันดับที่ 10 กันก่อนเลยค่ะ

ใครที่กำลังมองหาเตียงราคาย่อมเยา บอกได้เลยว่ารุ่นนี้ไม่ควรพลาด เพราะชิ้นส่วนมือหมุนทำจากโครเมียม โครงสร้างของเตียงทำจากเหล็กแผ่นอย่างดี รองรับน้ำหนักสูงสุดได้ 150 kg หัวเตียงปลายเตียงทำจากพลาสติก ABS เบาะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วนเพื่อให้สามารถปรับพนักพิงหลังได้ 0 - 80 องศา รวมถึงปรับท่าชันเข่าได้ถึง 45 องศา มาพร้อมล้อล็อกหมุนได้ 360 องศา ซึ่งช่วยให้การเคลื่อนย้านสะดวกขึ้น มีความสูงจากพื้นถึงพื้นเตียง 56 cm และมีราวกันตกน้ำหนักเบา 2 ด้าน พับขึ้นลงได้ง่ายโดยไม่ต้องออกแรงอีกด้วย

รุ่นนี้เป็นเตียงผู้ป่วยระบบมือหมุนที่ถือว่าได้รับความนิยมไม่น้อย โดยโครงสร้างเตียงทำจากเหล็กพ่นสีฝุ่นซึ่งช่วยป้องกันการเกิดสนิม อีกทั้งพื้นเตียงที่ทำจากเหล็กยังถูกวางเป็นแนวขวางซึ่งทำให้รองรับน้ำหนักได้ถึง 200 kg หัวเตียงปลายเตียงเป็นพลาสติก ABS เบา แต่ยืดหยุ่นแข็งแรง สามารถถอดเข้าออกได้ พนักพิงหลังปรับได้ 0 - 75 องศา และท่าชันเข่าปรับระดับได้สูงสุดที่ 40 องศา มาพร้อมราวกันตกความยาว 147 cm สูง 45 cm พับขึ้นลงได้ง่าย โดยเตียงรุ่นนี้มีความสูงจากพื้นถึงพื้นเตียงอยู่ที่ 53 cm

มาดูเตียงมือหมุนรุ่นนี้กันบ้าง ที่มีโครงสร้างทำจากเหล็กคุณภาพแข็งแรง รับน้ำหนักได้ถึง 200 kg พื้นเตียงเป็นเหล็กแผ่นมีรูช่วยระบายอากาศ เบาะนอนถูกแบ่งออกเป็น 4 ตอน เพื่อรองรับกลไกการปรับระดับ ทำจากฟองน้ำคุณภาพหนา 2 cm หุ้มด้วยหนังเทียมและมีซิป จึงถอดออกเพื่อนำไปทำความสะอาดได้ ปรับระดับความสูงได้ระหว่าง 47 - 68 cm หัวเตียงและท้ายเตียงเป็นพลาสติกขึ้นรูปน้ำหนักเบาสามารถถอดเข้า-ออกได้ ราวกันตกมีความยาว 150 cm พับเก็บได้โดยไม่ต้องออกแรงยก รวมทั้งมีล้อล็อคได้ทั้ง 4 ล้อ

เป็นรุ่นที่มีการดีไซน์ให้สื่อถึงความอบอุ่นปลอดภัยได้ดีทีเดียวกับ Burmeier เตียงผู้ป่วยสัญชาติเยอรมัน ที่มีโครงสร้างเป็นเหล็กเคลือบสีพร้อมลายไม้ สามารถรองรับน้ำหนักได้ 185 kg ปรับพนักพิงได้สูงสุด 35 องศา ปรับระดับความสูงได้ระหว่าง 40 - 80 cm ราวกันตกสูงประมาณ 37 cm ซึ่งมีระบบล็อคอัตโนมัติเมื่อเลื่อนราวขึ้น หัวเตียงและปลายเตียงทำจากแผ่นลามิเนต (โฟเมก้า) แข็งแรงมั่นคง รวมถึงบริเวณพื้นเตียงก็ยังคงเลือกใช้เป็นไม้ดัด พร้อมกับยางและเหล็กล็อคฟูกกันฟูกซึ่งเป็นฟูกตอนเดียวลื่นหรือหลุดออกอีกด้วย

เตียงคุณภาพจากประเทศญี่ปุ่นรุ่นนี้ใช้ล้อล็อกที่ทำจาก TPR มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 cm และโครงสร้างโดยรวมสามารถรองรับน้ำหนักได้สูงถึง 250 kg หัวเตียงท้ายเตียงทำจากไม้และ PU คุณภาพ ซึ่งให้ความรู้สึกผ่อนคลาย มีพนักพิงหลังปรับได้ถึง 85 องศา ปรับระดับการชันเข่าได้ระหว่าง 0 - 45 องศา โดยควบคุมผ่านรีโมรทคอนโทรลได้ โครงทำจากเหล็กแผ่นและเล็กกล่องหนาพิเศษรวมถึงราวกันตกสูง มีการเคลือบ Epoxy 2 ชั้น ป้องกันสนิมรอยขีดข่วนและช่วยกันลื่นขณะผู้ป่วยจับราวเพื่อพยุงตัวลุกนั่งอีกด้วย

สำหรับเตียงดีไซน์สุดบอุ่นนำเข้าจากเยอรมันรุ่นนี้ มาพร้อมการการันตีด้วยรางวัลระดับนานาชาติอย่าง Red Dot Design Award มีจุดเด่นในการออกแบบราวกันตกแบบ Telescopic ซึ่งพับขึ้นลงได้ด้วยมือเดียว และมีระบบล้อแบบ 2 x 2 Locking ซ่อนอยู่ในโครงเตียงที่ทำจากไม้คุณภาพเคลือบด้วยลามิเนต ระดับเตียงปรับต่ำสุดได้ 25 cm และรองรับน้ำหนักได้สูงสุด 225 kg ควบคุมการปรับระดับต่าง ๆ ได้ด้วย LCD Handset ใช้มอเตอร์ของ LINAK จากประเทศเดนมาร์กซึ่งมีเสียงเงียบ และมีอายุการใช้งานยาวนาน

โครงสร้างเตียงหนาพิเศษทำจากเหล็กรีดเย็นทำให้รองรับน้ำหนักได้มากที่สุดถึง 400 kg หัวเตียงปรับได้ตั้งแต่ 0 - 75 องศา และพิเศษตรงที่สามารถปรับงอขาในลักษณะท่านั่งปล่อยขาหรือยกขาได้ 55 - 75 องศา ที่สำคัญ คือ มีฟังก์ชันช่วยพลิกตัวได้สูงสุด 45 องศา จึงเพิ่มความสบายและช่วยลดการเกิดแผลกดทับในระยะยาวของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ราวกันตกทำจากไม้ ซึ่งมีน้ำหนักเบา พับเก็บได้ง่าย นอกจากนี้ ยังมีฟังก์ชันสำหรับสระผมและช่องรองขับถ่ายขนาดกว้าง 20 cm ยาว 24 cm ให้อีกด้วย

เตียงโครงสร้างเหล็กที่ประกอบติดมากับเบาะนอนฟองน้ำและใยสังเคราะห์ หุ้มด้วยหนัง PU มีคุณสมบัติระบายอากาศได้ดี ไม่ซึมน้ำ พับเก็บได้ หัวเตียงปรับระดับ 0 - 75  องศา ด้วยรีโมทไฟฟ้าและมีระบบชันเข่าขึ้นเล็กน้อยไปในตัว ที่จับทั้งของด้านสามารถถอดเพื่อเปลี่ยนไปประกอบใช้ที่ปลายเตียงได้ มีความสูงจากพื้นถึงพื้นเตียง 19 cm นอกจากนี้ ยังเพิ่มความมั่นคงแข็งแรงด้วยล้อเลื่อน 7 ล้อ ยางกันลื่น 8 จุด และล้อล็อกเพื่อความปลอดภัยอีก 2 ตัว รองรับน้ำหนักได้ 180 kg

เตียงนำเข้าจากเยอรมัน ที่เรียกได้ว่าหรูหราให้ความรู้สึกอบอุ่นและสะดวกมากที่สุดอีกรุ่นเลยก็ว่าได้ ควบคุมได้ด้วย Bluetooth Hand Switch ซึ่งมีปุ่มขนาดใหญ่ ใช้งานง่าย โครงสร้างทำจากไม้เนื้อดีที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยลามิเนตทั้งหมด ใช้ล้อล็อกคุณภาพมีความแข็งแรงและพับเก็บได้ ซึ่งจะช่วยให้เคลื่อนย้ายได้สะดวกมากขึ้น รวมถึงที่หัวเตียงมีช่องสำหรับเสียบเสาดึงตัว (Monkey Bar) จำนวน 2 ช่อง สามารถปรับสูงต่ำได้ระหว่าง 23 - 63 cm พื้นเตียงถูกแบ่งเป็น 4 ส่วน รองรับน้ำหนักสูงสุดได้ 175 kg

เตียงระบบไฟฟ้าล้ำสมัยนำเข้าจากฝรั่งเศส มีดีไซน์สวยงาม ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย โครงสร้างเตียงผลิตจากอะลูมิเนียม ไม้และลามิเนตคุณภาพ รับน้ำหนักได้สูงสุด 250 kg ใช้ระบบล้อล็อกซึ่งจะซ่อนอยู่ภายในโครงเตียง โดยผู้ป่วยสามารถควบคุมเตียงผ่านระบบ Hand Switch หรือจะเป็นผู้ดูแลควบคุมผ่านแผงควบคุมที่ติดอยู่ปลายเตียงก็ได้เช่นกัน ทั้งยังปรับท่าทางได้ถึง 6 ท่า เตียงปรับต่ำสุดได้ที่ 23 cm มีราวกันตกความสูง 42 cm นอกจากนี้ ยังใช้มอเตอร์จาก Dewert Okin ซึ่งมีเสียงเบาและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมาก

จาก 10 อันดับข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่า บางครั้งระบบมือหมุนหรือฟังก์ชันทั่วไปก็เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน นั่นก็เพราะถึงแม้ว่าหลาย ๆ ฟังก์ชันอาจจะดูเป็นประโยชน์กับผู้ป่วย แต่ในความเป็นจริงผู้ป่วยอาจไม่มีความจำเป็นต้องใช้เลยก็เป็นได้ ดังนั้นแล้ว ไม่ว่าจะมีฟังก์ชันช่วยอำนวยความสะดวกมากเพียงใด แต่ผู้ซื้อก็ควรที่จะคำนึงถึงความจำเป็นและความเหมาะสมมาเป็นอันดับแรกนั่นเอง


คงปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วงเวลาในการฟื้นตัวของผู้ป่วยหลายคน หรือแม้กระทั่งผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วเหลือตัวเองได้ ต่างก็ใช้ชีวิตประจำวันเกือบ 90% อยู่บนเตียง ฉะนั้น การเลือกเตียงผู้ป่วยที่อำนวยความสะดวกได้ดีที่สุด ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสร้างทุก ๆ วันให้เป็นวันที่ดีของผู้ป่วยได้ด้วยนั่นเอง